งานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้


วิดีทัศน์แนะนำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ประวัติคณะ
     คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (Faculty of Architecture and Environmental Design, Maejo University) เมื่อปี พ.ศ.2521 เดิมเป็นภาควิชาตกแต่งบริเวณและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สังกัดคณะผลิตกรรมการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ ในปี พ.ศ. 2527 เปลี่ยนชื่อเป็นภาควิชาภูมิทัศน์และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เริ่มเปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีหลักสูตร 2 ปี สาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์ (Landscape Technology) พ.ศ.2538 เปิดรับเปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีหลักสูตร 5 ปี สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม (Landscape Architecture)

     ต่อมาได้รับการยกฐานะเป็นคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2549 ตามมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย  ครั้งที่ 2/2547 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2547 เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศการพัฒนานักศึกษาระดับอุดมศึกษาตามความต้องการผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาทางด้านสถาปัตยกรรมและสาขาทางด้านการออกแบบสิ่งแวดล้อมให้มีมาตรฐานทางด้านวิชาการและวิชาชีพมาตรฐานจากสภาสถาปนิกแห่งประเทศไทย

     ปัจจุบัน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เปิดสอนทั้งหมด 5 หลักสูตร ประกอบด้วยหลักสูตรปริญญาตรี จำนวน 2 หลักสูตร หลักสูตรระดับปริญญาโท จำนวน 2 หลักสูตร และหลักสูตรระดับปริญญาเอก จำนวน 1 หลักสูตร ดังนี้
ปีการศึกษา 2527 เปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตร 2 ปี สาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์
ปีการศึกษา 2538 เปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตร 5 ปี สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม
ปีการศึกษา 2550 เปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี สาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์
ปีการศึกษา 2552 เปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตร 5 ปี สาขาวิชาสถาปัตยกรรม
ปีการศึกษา 2553 เปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตร 2 ปี สาขาวิชาการออกแบบและวางแผนสิ่งแวดล้อม
ปีการศึกษา 2558 เปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตร 2 ปี สาขาวิชาการวางผังเมืองและสภาพแวดล้อม
ปีการศึกษา 2567 เปิดรับศึกษาระดับปริญญาเอก หลักสูตร 2 ปี สาขาวิชานวัตกรรมการออกแบบเพื่อความยั่งยืน

สีประจำคณะ น้ำตาลทอง  Aureus Brown  หมายถึง   ชื่อของต้นไม้สีทองซึ่งปลูกไว้ที่ด้านหน้าของอาคารปฏิบัติการภูมิทัศน์ฯ ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Buhnia aureifolia K.& S.S. Larsen คำว่า aureifolia แปลว่า ใบไม้สีทอง มาจากคำว่า aureo (สีทอง) +folia (ใบไม้) จึงนำคำว่า Aureus (เป็นคำ adj.) มาใช้เพื่อให้สื่อถึงสีของต้นไม้

ที่ตั้ง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร  อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290

ปรับปรุงข้อมูล : 21/11/2567 13:38:06     ที่มา : งานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 2159

กลุ่มข่าวสาร : อื่นๆ

ข่าวล่าสุด

กิจกรรม Work shop เครื่องบายศรีสู่ขวัญ สู่การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมครอบครูกิ๋นอ้อ
     เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2567 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม จัดกิจกรรม Work shop เครื่องบายศรีสู่ขวัญ และการจัดสวนถาด ในconceptสวนถาดล้านนาในความเป็นมหาวิทยาลัยแม่โจ้ สู่การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมครอบครูกิ๋นอ้อ โดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ด้านการจัดเครื่องบายศรีแบบล้านลาน คุณญาณวิทย์ นินสนธิ (จุมสะหรี๋หริภุญไจย) มาบรรยายให้ความรู้ พร้อมทั้งการฝึกปฏิบัตจริงให้กับนักศึกษา ในการจัดทำบายศรีสู่ขวัญแบบล้านนา การทำพานบายสี ตั้งแต่ขึ้น ขั้นตอนการฉีกใบตอง การพับใบตอง การจัดสรวยดอกไม้สด ด้วยวัสดุที่เป็นธรรมชาติ เพื่อให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง และรู้ถึงความหมายของเครื่องบายศรี ต่าง ๆ ที่มาประกอบกันสำหรับจัดในกิจกรรมครอบครูกิ๋นอ้อ ไหว้ครูศิลปะอย่างบูรณาการ ประจำปีการศึกษา 2567 และคุณเอกชัย ชะนะผล #เจ้าของเพจ ฅนธรรมสวน-รับออกแบบจัดสวน-วัยรุ่นภูมิทัศน์ ที่ให้เกียรติมาเป็นวิทยากร ให้ความรู้และคำแนะนำน้อง ๆ นักศึกษาในการเลือกพืช พรรณไม้ ที่เป็นองค์ประกอบในการจัดสวนถาด ที่สื่อถึงความเป็นล้านนา เพื่อให้เกิดการบูรณาการและนักศึกษาสามารถนำไปสร้างเป็นรายได้ให้กับตนเองได้ ต่อไป      อีกทั้งเพื่อเป็นการสืบสานประเพณีอันดีงามแบบล้านนา ของนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม ภายใต้ ภายใต้โครงการ "นิเวศน์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อการหารายได้และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม Exhibition" โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์พันธ์ศักดิ์ ภักดี เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ และได้รับการสนับสนุน โครงการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
21 พฤศจิกายน 2567     |      11
กิจกรรมจิตอาสาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
     วันที่ 2 และ 3 กรกฎาคม 2567 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม ได้รับเชิญให้เข้าร่วมโครงการของ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ในนามกลุ่ม “สิงห์อาสา” ร่วมกับ บริษัท เชียงใหม่ เบเวอเรช จำกัด ภายใต้โครงการ “ไม้ยืนต้น ป่ายั่งยืน” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 กิจกรรมปลูกต้นไม้ที่ตำบลบ้านปง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย หน่วยป้องกันรักษาป่าไม้ที่ 13 (สันป่าตอง) สภาหายใจเชียงใหม่ กลุ่มเขียวสวยหอม กลุ่มผู้นำชุมชนตำบลบ้านปง และภาคีเครือข่ายสิ่งแวดล้อม      โดยมีอาจารย์ ดร.โชคอนันต์ วาณิชย์เลิศธนาสาร คณบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์พันธ์ศักดิ์ ภักดี รองคณบดีฝ่ายพันธกิจและเครือข่าย ผู้ช่วยศาสตราจารย์อัจฉรี เหมสันต์ อาจารย์สุระพงษ์ เตชะ อาจารย์พรทิพทย์ จันทร์ราช อาจารยผู้ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์ นางสาวโสภา หาญยุทธ เจ้าหน้าบริหารงานทั่วไป นายณัฐภัทร ดาวสุข นักวิชาการศึกษา คณะกรรมการสโมสรนักศึกษา และนักศึกษาสาขาเทคโนโลยีภูมิทัศน์ จำนวนทั้งหมด 36 คน ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ เข้าร่วมพิธีเปิดโครงการ และร่วมกิจกรรมปลูกป่า ทั้งนี้ในนามคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ ขอขอบคุณผู้ช่วยศาสตราจารย์บรรจง สมบูรณ์ชัย ที่เป็นผู้ประสานงานโครงการร่วมบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ให้คณะมีส่วนร่วมกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและเพิ่มพื้นที่สีเขียวในชุมชน ณ ชุมชนบ้านปงใต้ ตำบลบ้านปง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ที่ผ่านมา
21 พฤศจิกายน 2567     |      10
ถ่ายทอดวิทยายุทธวิชาศิลปะและสถาปัตยกรรม จาก รุ่นพี่ สู่ น้องใหม่
    วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน 2567 สโมสรนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม จัดกิจกรรมติวปรับพื้นฐานความถนัดทางด้านศิลปะและสถาปัตยกรรม ให้กับนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2567 ภายใต้โครงการสายสัมพันธ์ พี่ น้อง สถาปัตย์      ในการนี้ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์พันธ์ศักดิ์ ภักดี รองคณบดีฝ่ายพันธกิจพิเศษและเครือข่าย กล่าวเปิดโครงการ ให้กำลังใจ และแนะนำการเรียนและการใช้ชีวิตในระดับมหาวิทยาลัย ให้กับนักศึกษาใหม่      สำหรับกิจกรรมติวปรับพื้นฐานความถนัดทางด้านศิลปะและสถาปัตยกรรมนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มทักษะพื้นฐานในด้านศิลปะและสถาปัตยกรรม และส่งเสริมให้นักศึกษาได้เรียนรู้ทักษะในศตวรรษที่ 21 (ทักษะชีวิตและวิชาชีพเฉพาะทางด้านสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อม) ให้กับนักศึกษาใหม่ ตลอดจน เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาใหม่ และนักศึกษาปัจจุบัน
21 พฤศจิกายน 2567     |      9