งานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
     บริษัท นิปปอนเพนต์ เดคโคเรทีฟ โคทติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับกลุ่มบริษัท นิปปอนเพนต์ทั่วเอเชีย 16 ประเทศได้ร่วมกันดำเนินโครงการประกวดผลงาน ออกแบบในสาขาสถาปัตยกรรม และสาขาการออกแบบตกแต่งภายใน ระดับมหาวิทยาลัย ภายใต้ชื่อ Asia Young Designer Awards ซึ่งจัดการประกวดอย่างต่อเนื่อง 14 ปี เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกในเรื่อง ของการออกแบบที่คำนึงถึงผู้คน ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ผ่านหัวข้อการประกวด เพื่อให้นักออกแบบรุ่นใหม่ได้ขบคิด และแสดงความเห็นในการนำเสนอทางออก หรือความเป็นไปได้ที่จะใช้ใหม่ๆ เพื่อใช้ความคิดสร้างสรรค์ ให้เป็นพลังในการสร้างสิ่งแวดล้อม (Built Environment) ที่เป็นประโยชน์มีคุณค่าและเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านผลงาน แบ่งปันไอเดียแรงบันดาลใจ เป็นกิ่งก้านทางความคิดที่ต่อยอดต่อไป

     สถานการณ์โลกที่เปลี่ยนไปทำให้ทุกคนต้องปรับเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิต ในขณะเดียวกันนักออกแบบทุกคน ก็ต้องรับมือกับความท้าทาย จากการเปลี่ยนแปลงของโลก สังคม วัฒนธรรม โดยการเอากระบวนความคิดวิธีการมองปัญหา นำนวัตกรรมเข้ามาช่วยผนวกกับความเข้าใจ และการวิเคราะห์เข้าไปในงานออกแบบ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ใช้งานเพื่อสร้าง Better life, Better living, Better solution ให้กับผู้คนในสังคม สอดคล้องกับโจทย์การแข่งขันในปีนั้ “Amplifying Empathy Through Design 2021”

     ธีมการประกวดปี2021 เป็นโจทย์ที่ต้องแสดงถึงความเข้าใจอย่างลึกซึ้งผ่านงานออกแบบ นักออกแบบจะต้องนำกระบวนการคิด ที่ใช้การทำความเข้าใจในปัญหา เสนอโซลูชันที่ตอบโจทย์ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งานทั้งด้านกายภาพ จิตใจ อารมณ์ สิ่งแวดล้อม สังคม วัฒนธรรมและเศรษฐกิจ ซึ่งสอดคล้องกับบริบทโดยรอบ โดยนำนวัตกรรมใหม่ๆเข้ามาช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดียิ่งขึ้น

     การออกแบบที่เน้นความเข้าใจ หรือ Empathy เราต้องเข้าใจและรับรู้อารมณ์ ความรู้สึกของผู้ใช้งานได้ จนสามารถถอดความต้องการ (want) หรือความจำเป็น (need) ปัญหา หรือ Pain Point ของผู้ใช้ได้ โดยมี กระบวนการคิด ทำให้เกิดแนวทางพื้นฐาน สำหรับการแก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากในการจัดการกับ ปัญหาที่ซับซ้อน ด้วยการทำความเข้าใจความต้องการของมนุษย์ การกำหนดกรอบของปัญหาโดยเน้นมนุษย์เป็น จุดศูนย์กลาง การระดมสมองเพื่อหาไอเดียที่หลากหลาย และการสร้างต้นแบบไปจนถึงการทดสอบวิธีการนั้น

เริ่มรับสมัครผลงาน : วันที่ 15 กรกฎาคม - 15 ตุลาคม 2564

ตัดสินผลงาน : เดือนพฤศจิกายน 2564

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.asiayoungdesignerawards-th.com/ 

ติดตามข่าวสารการประกวดได้ที่ : https://www.facebook.com/AsiaYoungDesignerAwardsThailand 

ปรับปรุงข้อมูล : 5/7/2564 16:01:02     ที่มา : งานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 232

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวล่าสุด

กิจกรรม Work shop เครื่องบายศรีสู่ขวัญ สู่การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมครอบครูกิ๋นอ้อ
     เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2567 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม จัดกิจกรรม Work shop เครื่องบายศรีสู่ขวัญ และการจัดสวนถาด ในconceptสวนถาดล้านนาในความเป็นมหาวิทยาลัยแม่โจ้ สู่การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมครอบครูกิ๋นอ้อ โดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ด้านการจัดเครื่องบายศรีแบบล้านลาน คุณญาณวิทย์ นินสนธิ (จุมสะหรี๋หริภุญไจย) มาบรรยายให้ความรู้ พร้อมทั้งการฝึกปฏิบัตจริงให้กับนักศึกษา ในการจัดทำบายศรีสู่ขวัญแบบล้านนา การทำพานบายสี ตั้งแต่ขึ้น ขั้นตอนการฉีกใบตอง การพับใบตอง การจัดสรวยดอกไม้สด ด้วยวัสดุที่เป็นธรรมชาติ เพื่อให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง และรู้ถึงความหมายของเครื่องบายศรี ต่าง ๆ ที่มาประกอบกันสำหรับจัดในกิจกรรมครอบครูกิ๋นอ้อ ไหว้ครูศิลปะอย่างบูรณาการ ประจำปีการศึกษา 2567 และคุณเอกชัย ชะนะผล #เจ้าของเพจ ฅนธรรมสวน-รับออกแบบจัดสวน-วัยรุ่นภูมิทัศน์ ที่ให้เกียรติมาเป็นวิทยากร ให้ความรู้และคำแนะนำน้อง ๆ นักศึกษาในการเลือกพืช พรรณไม้ ที่เป็นองค์ประกอบในการจัดสวนถาด ที่สื่อถึงความเป็นล้านนา เพื่อให้เกิดการบูรณาการและนักศึกษาสามารถนำไปสร้างเป็นรายได้ให้กับตนเองได้ ต่อไป      อีกทั้งเพื่อเป็นการสืบสานประเพณีอันดีงามแบบล้านนา ของนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม ภายใต้ ภายใต้โครงการ "นิเวศน์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อการหารายได้และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม Exhibition" โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์พันธ์ศักดิ์ ภักดี เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ และได้รับการสนับสนุน โครงการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
21 พฤศจิกายน 2567     |      10
กิจกรรมจิตอาสาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
     วันที่ 2 และ 3 กรกฎาคม 2567 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม ได้รับเชิญให้เข้าร่วมโครงการของ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ในนามกลุ่ม “สิงห์อาสา” ร่วมกับ บริษัท เชียงใหม่ เบเวอเรช จำกัด ภายใต้โครงการ “ไม้ยืนต้น ป่ายั่งยืน” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 กิจกรรมปลูกต้นไม้ที่ตำบลบ้านปง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย หน่วยป้องกันรักษาป่าไม้ที่ 13 (สันป่าตอง) สภาหายใจเชียงใหม่ กลุ่มเขียวสวยหอม กลุ่มผู้นำชุมชนตำบลบ้านปง และภาคีเครือข่ายสิ่งแวดล้อม      โดยมีอาจารย์ ดร.โชคอนันต์ วาณิชย์เลิศธนาสาร คณบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์พันธ์ศักดิ์ ภักดี รองคณบดีฝ่ายพันธกิจและเครือข่าย ผู้ช่วยศาสตราจารย์อัจฉรี เหมสันต์ อาจารย์สุระพงษ์ เตชะ อาจารย์พรทิพทย์ จันทร์ราช อาจารยผู้ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์ นางสาวโสภา หาญยุทธ เจ้าหน้าบริหารงานทั่วไป นายณัฐภัทร ดาวสุข นักวิชาการศึกษา คณะกรรมการสโมสรนักศึกษา และนักศึกษาสาขาเทคโนโลยีภูมิทัศน์ จำนวนทั้งหมด 36 คน ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ เข้าร่วมพิธีเปิดโครงการ และร่วมกิจกรรมปลูกป่า ทั้งนี้ในนามคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ ขอขอบคุณผู้ช่วยศาสตราจารย์บรรจง สมบูรณ์ชัย ที่เป็นผู้ประสานงานโครงการร่วมบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ให้คณะมีส่วนร่วมกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและเพิ่มพื้นที่สีเขียวในชุมชน ณ ชุมชนบ้านปงใต้ ตำบลบ้านปง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ที่ผ่านมา
21 พฤศจิกายน 2567     |      9
ถ่ายทอดวิทยายุทธวิชาศิลปะและสถาปัตยกรรม จาก รุ่นพี่ สู่ น้องใหม่
    วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน 2567 สโมสรนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม จัดกิจกรรมติวปรับพื้นฐานความถนัดทางด้านศิลปะและสถาปัตยกรรม ให้กับนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2567 ภายใต้โครงการสายสัมพันธ์ พี่ น้อง สถาปัตย์      ในการนี้ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์พันธ์ศักดิ์ ภักดี รองคณบดีฝ่ายพันธกิจพิเศษและเครือข่าย กล่าวเปิดโครงการ ให้กำลังใจ และแนะนำการเรียนและการใช้ชีวิตในระดับมหาวิทยาลัย ให้กับนักศึกษาใหม่      สำหรับกิจกรรมติวปรับพื้นฐานความถนัดทางด้านศิลปะและสถาปัตยกรรมนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มทักษะพื้นฐานในด้านศิลปะและสถาปัตยกรรม และส่งเสริมให้นักศึกษาได้เรียนรู้ทักษะในศตวรรษที่ 21 (ทักษะชีวิตและวิชาชีพเฉพาะทางด้านสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อม) ให้กับนักศึกษาใหม่ ตลอดจน เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาใหม่ และนักศึกษาปัจจุบัน
21 พฤศจิกายน 2567     |      9