งานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้

     บริษัท บีซีไอ เซนทรัล จำกัด ขอเรียนเชิญกลุ่มนักศึกษา ส่งผลงานประกวดออกแบบที่เกี่ยวกับการสร้างสรรค์สิ่งปลูกสร้างเดิมขึ้นมาใหม่ให้กลับมาใช้เป็นพื้นที่สาธารณะได้อย่างปลอดภัย ยั่งยืน และกลับคืนสู่ชุมชน ในหัวข้อ REINTERPRETATION 

     TASK (สิ่งที่ต้องทำ)
- คัดเลือกเมืองที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียที่ต้องการออกแบบ ที่อาจเป็นเมืองที่คุณอาศัยอยู่หรือรู้จักคุ้นเคย
- เลือกโครงการปัจจุบันที่มีพื้นที่ไซต์งานมากถึง 100,000 ตารางเมตร (10 เฮกตาร์) โดยมีพื้นที้ใช้สอยน้อย/พื้นที่ว่างเปล่า ณ จุดนี้ที่ผู้สนใจส่งผลงานเข้าประกวด ต้องจัดเตรียมภาพจริงของไซต์งานั้น ๆ หรือพิกัดโครงการ เป็นได้ทั้งไซต์โครงการของเอกชนและของรัฐบาล
- เข้าใจผลที่อาจเกิดขึ้นจากการตีความโครงการนี้มาทำซํ้าบนพื้นฐานของชุมชนและสิ่งแวดล้อมนั้น ๆ หมายถึงต้องทำความเข้าใจสถาปัตยกรรมและโครงสร้างปัจจุบันของโครงการนั้นก่อน ก่อนประเมินความน่าสนใจตีความทำซํ้าในฟังก์ชันงานชิ้นใหม่
- ตีความจากการตัดสินใจนั้น โดยให้มีองค์ประกอบและเครือข่ายที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายของโครงการชิ้นใหม่

     EVALUATION CRITERIA (เกณฑ์การประเมิน)
คณะกรรมการจะพิจารณาจากวิธีแก้ปัญหาที่เป็นไปได้ บนรากฐานของเงื่อนไขในท้องถิ่น ไปจนถึงความเป็นระเบียบ เป็นการตัดสินใจที่ดูจากขนาดและการวาดเส้นของไซต์ งานที่ต้องอธิบายอย่างชัดเจน ผู้เข้าร่วมแข่งขันต้องอธิบายบริบทด้วยว่าเหตุใดจึงเลือกการพัฒนาผลงานชิ้นปัจจุบันนี้ อะไรที่ชุมชนต้องการและรับรู้ผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม ผลงานต้องอธิบายชัดเจนว่าเป็นการตีความผลงานขึ้นใหม่จากโครงการส่วนบุคคลไปเป็นโครงการสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติการนำกลับมาคิดใหม่และชนชั้นสังคม ตลอดจนการมีส่วนร่วมหรือวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่กว่าของพวกเขา

     การตัดสินจะขึ้นอยู่กับคำอธิบายที่ชัดเจนของสิ่งต่อไปนี้ที่สอดคล้องกับผลงาน:
- REINTERPRETATION: การสอดแทรกในแง่ของการออกแบบและฟังก์ชันการใช้งาน
- INTEGRATION: ระดับความสัมพันธ์ของธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
- IMPACT: แนวทางที่เสนอมีผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติอย่างไร
- REPLICABILITY: มีวิธีการแก้ปัญหาที่อาจถูกทำซํ้าทั่วเมืองหรือยังเมืองอื่น ๆ อย่างไร

     ELIGIBILITY: STUDENTS ONLY (คุณสมบัติ - เฉพาะนักศึกษา)
- FuturArc Prize 2022 เปิดให้นิสิตนักศึกษาในนามบุคคลหรือทีม ที่มีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดในระดับสากล
- การประกวดเปิดโอกาสให้นักศึกษาระดับปริญญาตรี, สูงกว่าปริญญาตรี, ปริญญาเอกของสถาบันอุดมศึกษาด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์, วิศวกรรมศาสตร์, การวางผัง, การออกแบบเมือง, การออกแบบภูมิทัศน์, การออกแบบสิ่งแวดล้อม ฯลฯ สามารถเข้า ร่วมการแข่งขันได้ หรือผู้สำเร็จการศึกษาล่าสุดที่มีประสบการณ์วิชาชีพน้อยกว่า 2 ปี
- ในแบบทีมต้องมีสมาชิกร่วมไม่เกิน 5 ท่าน
- ในหนึ่งทีมต้องแต่งตั้งหัวหน้าทีมในการลงทะเบียนการแข่งขันหน้าเว็ปเพจ และเป็นตัวแทนของทีมแต่เพียงผู้เดียวในการติดต่อประสานงานทั้งหมดกับกองประกวดการแข่งขัน
- สมาชิกทุกคนในทีมถือเป็นผู้เข้าร่วมการแข่งขันที่พวกเขาส่งร่วมในโครงการหากได้รับรางวัล จะได้รับการกล่าวถึงในงานประกาศมอบรางวัล การจัดแสดงบนนิทรรศการ และสื่อสิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันทั้งหมด ที่ไดให้รายละเอียดบนโปรไฟล์ของทีม
- ผู้เข้าประกวดที่ยื่นส่งผลงานบุคคลเดียว ผลงานโครงการที่เขา/เธอส่งเข้ามาหากได้รับรางวัล จะได้รับการกล่าวถึงในงานประกาศมอบรางวัล การจัดแสดงนิทรรศการ และสื่อสิ่งพิมพ์ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการ
แข่งขัน
- ผู้เข้าแข่งขันรายบุคคลเดียวแต่ละคน เป็นตัวแทนของตนในการติดต่อกับกองประกวดการแข่งขันทั้งหมด

     KEY DATES (กำหนดการ)
- 22 พฤศจิกายน 2021: เริ่มต้นการลงทะเบียนสมัคร และสามารถเริ่มส่งผลงานได้
- 25 กุมภาพันธ์ 2022: การลงทะเบียน และวันสุดท้ายของการรับส่งผลงาน
- ภายในสิ้นเดือน เมษายน 2022: ประกาศผล และแจ้งเตือนบุคคลผู ้ที่ชนะรางวัล
- พฤษภาคม และ มิถุนายน 2022: เข้าร่วมงานมอบรางวัล*
- ช่วงกันยายน ถึง ธันวาคม 2022: การตีพิมพ์ผลงานในนิตยสาร FuturArc

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมคลิ๊ก

ปรับปรุงข้อมูล : 13/12/2564 14:42:19     ที่มา : งานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 389

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวด้านการศึกษา

ข่าวล่าสุด

กิจกรรม Work shop เครื่องบายศรีสู่ขวัญ สู่การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมครอบครูกิ๋นอ้อ
     เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2567 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม จัดกิจกรรม Work shop เครื่องบายศรีสู่ขวัญ และการจัดสวนถาด ในconceptสวนถาดล้านนาในความเป็นมหาวิทยาลัยแม่โจ้ สู่การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมครอบครูกิ๋นอ้อ โดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ด้านการจัดเครื่องบายศรีแบบล้านลาน คุณญาณวิทย์ นินสนธิ (จุมสะหรี๋หริภุญไจย) มาบรรยายให้ความรู้ พร้อมทั้งการฝึกปฏิบัตจริงให้กับนักศึกษา ในการจัดทำบายศรีสู่ขวัญแบบล้านนา การทำพานบายสี ตั้งแต่ขึ้น ขั้นตอนการฉีกใบตอง การพับใบตอง การจัดสรวยดอกไม้สด ด้วยวัสดุที่เป็นธรรมชาติ เพื่อให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง และรู้ถึงความหมายของเครื่องบายศรี ต่าง ๆ ที่มาประกอบกันสำหรับจัดในกิจกรรมครอบครูกิ๋นอ้อ ไหว้ครูศิลปะอย่างบูรณาการ ประจำปีการศึกษา 2567 และคุณเอกชัย ชะนะผล #เจ้าของเพจ ฅนธรรมสวน-รับออกแบบจัดสวน-วัยรุ่นภูมิทัศน์ ที่ให้เกียรติมาเป็นวิทยากร ให้ความรู้และคำแนะนำน้อง ๆ นักศึกษาในการเลือกพืช พรรณไม้ ที่เป็นองค์ประกอบในการจัดสวนถาด ที่สื่อถึงความเป็นล้านนา เพื่อให้เกิดการบูรณาการและนักศึกษาสามารถนำไปสร้างเป็นรายได้ให้กับตนเองได้ ต่อไป      อีกทั้งเพื่อเป็นการสืบสานประเพณีอันดีงามแบบล้านนา ของนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม ภายใต้ ภายใต้โครงการ "นิเวศน์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อการหารายได้และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม Exhibition" โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์พันธ์ศักดิ์ ภักดี เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ และได้รับการสนับสนุน โครงการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
21 พฤศจิกายน 2567     |      5
กิจกรรมจิตอาสาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
     วันที่ 2 และ 3 กรกฎาคม 2567 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม ได้รับเชิญให้เข้าร่วมโครงการของ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ในนามกลุ่ม “สิงห์อาสา” ร่วมกับ บริษัท เชียงใหม่ เบเวอเรช จำกัด ภายใต้โครงการ “ไม้ยืนต้น ป่ายั่งยืน” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 กิจกรรมปลูกต้นไม้ที่ตำบลบ้านปง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย หน่วยป้องกันรักษาป่าไม้ที่ 13 (สันป่าตอง) สภาหายใจเชียงใหม่ กลุ่มเขียวสวยหอม กลุ่มผู้นำชุมชนตำบลบ้านปง และภาคีเครือข่ายสิ่งแวดล้อม      โดยมีอาจารย์ ดร.โชคอนันต์ วาณิชย์เลิศธนาสาร คณบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์พันธ์ศักดิ์ ภักดี รองคณบดีฝ่ายพันธกิจและเครือข่าย ผู้ช่วยศาสตราจารย์อัจฉรี เหมสันต์ อาจารย์สุระพงษ์ เตชะ อาจารย์พรทิพทย์ จันทร์ราช อาจารยผู้ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์ นางสาวโสภา หาญยุทธ เจ้าหน้าบริหารงานทั่วไป นายณัฐภัทร ดาวสุข นักวิชาการศึกษา คณะกรรมการสโมสรนักศึกษา และนักศึกษาสาขาเทคโนโลยีภูมิทัศน์ จำนวนทั้งหมด 36 คน ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ เข้าร่วมพิธีเปิดโครงการ และร่วมกิจกรรมปลูกป่า ทั้งนี้ในนามคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ ขอขอบคุณผู้ช่วยศาสตราจารย์บรรจง สมบูรณ์ชัย ที่เป็นผู้ประสานงานโครงการร่วมบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ให้คณะมีส่วนร่วมกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและเพิ่มพื้นที่สีเขียวในชุมชน ณ ชุมชนบ้านปงใต้ ตำบลบ้านปง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ที่ผ่านมา
21 พฤศจิกายน 2567     |      6
ถ่ายทอดวิทยายุทธวิชาศิลปะและสถาปัตยกรรม จาก รุ่นพี่ สู่ น้องใหม่
    วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน 2567 สโมสรนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม จัดกิจกรรมติวปรับพื้นฐานความถนัดทางด้านศิลปะและสถาปัตยกรรม ให้กับนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2567 ภายใต้โครงการสายสัมพันธ์ พี่ น้อง สถาปัตย์      ในการนี้ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์พันธ์ศักดิ์ ภักดี รองคณบดีฝ่ายพันธกิจพิเศษและเครือข่าย กล่าวเปิดโครงการ ให้กำลังใจ และแนะนำการเรียนและการใช้ชีวิตในระดับมหาวิทยาลัย ให้กับนักศึกษาใหม่      สำหรับกิจกรรมติวปรับพื้นฐานความถนัดทางด้านศิลปะและสถาปัตยกรรมนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มทักษะพื้นฐานในด้านศิลปะและสถาปัตยกรรม และส่งเสริมให้นักศึกษาได้เรียนรู้ทักษะในศตวรรษที่ 21 (ทักษะชีวิตและวิชาชีพเฉพาะทางด้านสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อม) ให้กับนักศึกษาใหม่ ตลอดจน เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาใหม่ และนักศึกษาปัจจุบัน
21 พฤศจิกายน 2567     |      6