งานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้

      คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม ได้จัดโครงการค่ายอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ประจำปีการศึกษา 2564-2565 ระหว่างวันที่ 23-24 กรกฎาคม 2565 ณ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้นักศึกษาเรียนรู้จากประสบการณ์นอกห้องเรียน ทางด้านทักษะในการดำเนินชีวิต ทักษะทางสังคม รวมถึงการเสริมสร้างปัญญา คุณธรรม จริยธรรม ความเป็นผู้นำ และปลูกฝังความตระหนักรู้ในการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม โดยการนำความรู้ทางด้านวิชาการและวิชาชีพมาประยุกต์ใช้ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติและการพัฒนาสังคม ชุมชน ให้ได้รับประโยชน์สุขอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งส่งเสริมและพัฒนาให้นักศึกษาเป็นบัณฑิตที่มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เก่ง ดี และมีความสุข มีพัฒนาการทางด้านวิชาชีพ ความใฝ่รู้ ความคิดสร้างสรรค์ และจิตสาธารณะต่อสังคม
      ซึ่งในปีนี้ ทางคณะได้รับเกียรติจาก วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญทางด้านสาขาวิชาชีพ จากทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย มาเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้แก่นักศึกษา ในกิจกรรมสัมมนาเชิงวิชาการและกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ "สถาปัตย์รักษ์สิ่งแวดล้อม" ได้แก่
      1. คุณอรช บุญหลง อาจารย์พิเศษและผู้ประสานงานด้านนวัตกรรมล้านนาสร้างสรรค์ จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บรรยายในหัวข้อ "เส้นทางการทำงานเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม"
      2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์บรรจง สมบูรณ์ชัย อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ บรรยายในหัวข้อ "Hand care for trees ต่อยอดสู่ธุรกิจและความยั่งยืน" และ "หมอต้นไม้" พร้อมด้วยทีมงานจาก Happy Tree ที่มาสาธิตการปีนต้นไม้ใหญ่ให้กับนักศึกษาในฐานการเรียนรู้ "ไปส่องต้นไม้"
      3. คุณบุญรักษ์ ธนเจริญโรจน์ ศิษย์เก่าสาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์ ประธานกรรมการบริษัท ช้างทอง แลนด์สเคป จำกัด ผู้ได้รับปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์ บรรยายในหัวข้อ "ทิศทางการใช้วัสดุและพืชพรรณงานภูมิทัศน์อย่างยั่งยืน"
      4. คุณเพชรประกายแก้ว ดวงหฤทัยทิพย์ ผู้อำนวยการกองบริหารงานสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วยทีมงาน Green Library ร่วมบรรยายให้ความรู้และจัดกิจกรรม Workshop "การคัดแยกขยะ" ให้กับนักศึกษา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม Green Office และ Green University
      นอกจากนี้แล้ว ยังได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนจากผู้ประกอบการภายนอก ที่เป็นหน่วยงานเครือข่ายทางด้านวิชาชีพของคณะ เพื่อให้การจัดกิจกรรมบรรลุตามวัตถุประสงค์ อาทิเช่น บริษัท ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน), บริษัท ฟอร์ไมก้า (ประเทศไทย) จํากัด, บริษัท TDesign & Decor, บริษัท Saturn V Studio, กลุ่ม G7, บริษัท บีเคอินเตอร์ จำกัด (Onduline), บริษัทบุญถาวร สาขาเชียงใหม่ และคุณวิชชานนท์ เกษตร ศิษย์เก่าสาขาวิชาสถาปัตยกรรม เป็นต้น

ปรับปรุงข้อมูล : 24/7/2565 14:56:38     ที่มา : งานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 783

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวด้านการศึกษา Green Office & University จดหมายข่าว บทความน่าสนใจ อื่นๆ

ข่าวล่าสุด

กิจกรรม Work shop เครื่องบายศรีสู่ขวัญ สู่การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมครอบครูกิ๋นอ้อ
     เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2567 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม จัดกิจกรรม Work shop เครื่องบายศรีสู่ขวัญ และการจัดสวนถาด ในconceptสวนถาดล้านนาในความเป็นมหาวิทยาลัยแม่โจ้ สู่การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมครอบครูกิ๋นอ้อ โดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ด้านการจัดเครื่องบายศรีแบบล้านลาน คุณญาณวิทย์ นินสนธิ (จุมสะหรี๋หริภุญไจย) มาบรรยายให้ความรู้ พร้อมทั้งการฝึกปฏิบัตจริงให้กับนักศึกษา ในการจัดทำบายศรีสู่ขวัญแบบล้านนา การทำพานบายสี ตั้งแต่ขึ้น ขั้นตอนการฉีกใบตอง การพับใบตอง การจัดสรวยดอกไม้สด ด้วยวัสดุที่เป็นธรรมชาติ เพื่อให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง และรู้ถึงความหมายของเครื่องบายศรี ต่าง ๆ ที่มาประกอบกันสำหรับจัดในกิจกรรมครอบครูกิ๋นอ้อ ไหว้ครูศิลปะอย่างบูรณาการ ประจำปีการศึกษา 2567 และคุณเอกชัย ชะนะผล #เจ้าของเพจ ฅนธรรมสวน-รับออกแบบจัดสวน-วัยรุ่นภูมิทัศน์ ที่ให้เกียรติมาเป็นวิทยากร ให้ความรู้และคำแนะนำน้อง ๆ นักศึกษาในการเลือกพืช พรรณไม้ ที่เป็นองค์ประกอบในการจัดสวนถาด ที่สื่อถึงความเป็นล้านนา เพื่อให้เกิดการบูรณาการและนักศึกษาสามารถนำไปสร้างเป็นรายได้ให้กับตนเองได้ ต่อไป      อีกทั้งเพื่อเป็นการสืบสานประเพณีอันดีงามแบบล้านนา ของนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม ภายใต้ ภายใต้โครงการ "นิเวศน์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อการหารายได้และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม Exhibition" โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์พันธ์ศักดิ์ ภักดี เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ และได้รับการสนับสนุน โครงการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
21 พฤศจิกายน 2567     |      6
กิจกรรมจิตอาสาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
     วันที่ 2 และ 3 กรกฎาคม 2567 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม ได้รับเชิญให้เข้าร่วมโครงการของ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ในนามกลุ่ม “สิงห์อาสา” ร่วมกับ บริษัท เชียงใหม่ เบเวอเรช จำกัด ภายใต้โครงการ “ไม้ยืนต้น ป่ายั่งยืน” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 กิจกรรมปลูกต้นไม้ที่ตำบลบ้านปง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย หน่วยป้องกันรักษาป่าไม้ที่ 13 (สันป่าตอง) สภาหายใจเชียงใหม่ กลุ่มเขียวสวยหอม กลุ่มผู้นำชุมชนตำบลบ้านปง และภาคีเครือข่ายสิ่งแวดล้อม      โดยมีอาจารย์ ดร.โชคอนันต์ วาณิชย์เลิศธนาสาร คณบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์พันธ์ศักดิ์ ภักดี รองคณบดีฝ่ายพันธกิจและเครือข่าย ผู้ช่วยศาสตราจารย์อัจฉรี เหมสันต์ อาจารย์สุระพงษ์ เตชะ อาจารย์พรทิพทย์ จันทร์ราช อาจารยผู้ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์ นางสาวโสภา หาญยุทธ เจ้าหน้าบริหารงานทั่วไป นายณัฐภัทร ดาวสุข นักวิชาการศึกษา คณะกรรมการสโมสรนักศึกษา และนักศึกษาสาขาเทคโนโลยีภูมิทัศน์ จำนวนทั้งหมด 36 คน ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ เข้าร่วมพิธีเปิดโครงการ และร่วมกิจกรรมปลูกป่า ทั้งนี้ในนามคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ ขอขอบคุณผู้ช่วยศาสตราจารย์บรรจง สมบูรณ์ชัย ที่เป็นผู้ประสานงานโครงการร่วมบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ให้คณะมีส่วนร่วมกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและเพิ่มพื้นที่สีเขียวในชุมชน ณ ชุมชนบ้านปงใต้ ตำบลบ้านปง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ที่ผ่านมา
21 พฤศจิกายน 2567     |      7
ถ่ายทอดวิทยายุทธวิชาศิลปะและสถาปัตยกรรม จาก รุ่นพี่ สู่ น้องใหม่
    วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน 2567 สโมสรนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม จัดกิจกรรมติวปรับพื้นฐานความถนัดทางด้านศิลปะและสถาปัตยกรรม ให้กับนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2567 ภายใต้โครงการสายสัมพันธ์ พี่ น้อง สถาปัตย์      ในการนี้ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์พันธ์ศักดิ์ ภักดี รองคณบดีฝ่ายพันธกิจพิเศษและเครือข่าย กล่าวเปิดโครงการ ให้กำลังใจ และแนะนำการเรียนและการใช้ชีวิตในระดับมหาวิทยาลัย ให้กับนักศึกษาใหม่      สำหรับกิจกรรมติวปรับพื้นฐานความถนัดทางด้านศิลปะและสถาปัตยกรรมนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มทักษะพื้นฐานในด้านศิลปะและสถาปัตยกรรม และส่งเสริมให้นักศึกษาได้เรียนรู้ทักษะในศตวรรษที่ 21 (ทักษะชีวิตและวิชาชีพเฉพาะทางด้านสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อม) ให้กับนักศึกษาใหม่ ตลอดจน เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาใหม่ และนักศึกษาปัจจุบัน
21 พฤศจิกายน 2567     |      6