งานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ขอเรียนเชิญนักศึกษาร่วมส่งผลงานการประกวดออกแบบที่เกี่ยวกับการสร้างสรรค์สิ่งปลูกสร้างเดิมขึ้นมาใหม่ให้กลับมาใช้เป็นพื้นที่สาธารณะได้อย่างปลอดภัย ยั่งยืน และกลับคืนสู่ชุมชน ในหัวข้อ REINTERPRETATION
     บริษัท บีซีไอ เซนทรัล จำกัด ขอเรียนเชิญกลุ่มนักศึกษา ส่งผลงานประกวดออกแบบที่เกี่ยวกับการสร้างสรรค์สิ่งปลูกสร้างเดิมขึ้นมาใหม่ให้กลับมาใช้เป็นพื้นที่สาธารณะได้อย่างปลอดภัย ยั่งยืน และกลับคืนสู่ชุมชน ในหัวข้อ REINTERPRETATION TASK (สิ่งที่ต้องทำ) - คัดเลือกเมืองที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียที่ต้องการออกแบบ ที่อาจเป็นเมืองที่คุณอาศัยอยู่หรือรู้จักคุ้นเคย - เลือกโครงการปัจจุบันที่มีพื้นที่ไซต์งานมากถึง 100,000 ตารางเมตร (10 เฮกตาร์) โดยมีพื้นที้ใช้สอยน้อย/พื้นที่ว่างเปล่า ณ จุดนี้ที่ผู้สนใจส่งผลงานเข้าประกวด ต้องจัดเตรียมภาพจริงของไซต์งานั้น ๆ หรือพิกัดโครงการ เป็นได้ทั้งไซต์โครงการของเอกชนและของรัฐบาล - เข้าใจผลที่อาจเกิดขึ้นจากการตีความโครงการนี้มาทำซํ้าบนพื้นฐานของชุมชนและสิ่งแวดล้อมนั้น ๆ หมายถึงต้องทำความเข้าใจสถาปัตยกรรมและโครงสร้างปัจจุบันของโครงการนั้นก่อน ก่อนประเมินความน่าสนใจตีความทำซํ้าในฟังก์ชันงานชิ้นใหม่ - ตีความจากการตัดสินใจนั้น โดยให้มีองค์ประกอบและเครือข่ายที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายของโครงการชิ้นใหม่EVALUATION CRITERIA (เกณฑ์การประเมิน) คณะกรรมการจะพิจารณาจากวิธีแก้ปัญหาที่เป็นไปได้ บนรากฐานของเงื่อนไขในท้องถิ่น ไปจนถึงความเป็นระเบียบ เป็นการตัดสินใจที่ดูจากขนาดและการวาดเส้นของไซต์ งานที่ต้องอธิบายอย่างชัดเจน ผู้เข้าร่วมแข่งขันต้องอธิบายบริบทด้วยว่าเหตุใดจึงเลือกการพัฒนาผลงานชิ้นปัจจุบันนี้ อะไรที่ชุมชนต้องการและรับรู้ผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม ผลงานต้องอธิบายชัดเจนว่าเป็นการตีความผลงานขึ้นใหม่จากโครงการส่วนบุคคลไปเป็นโครงการสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติการนำกลับมาคิดใหม่และชนชั้นสังคม ตลอดจนการมีส่วนร่วมหรือวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่กว่าของพวกเขาการตัดสินจะขึ้นอยู่กับคำอธิบายที่ชัดเจนของสิ่งต่อไปนี้ที่สอดคล้องกับผลงาน: - REINTERPRETATION: การสอดแทรกในแง่ของการออกแบบและฟังก์ชันการใช้งาน - INTEGRATION: ระดับความสัมพันธ์ของธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น - IMPACT: แนวทางที่เสนอมีผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติอย่างไร - REPLICABILITY: มีวิธีการแก้ปัญหาที่อาจถูกทำซํ้าทั่วเมืองหรือยังเมืองอื่น ๆ อย่างไรELIGIBILITY: STUDENTS ONLY (คุณสมบัติ - เฉพาะนักศึกษา) - FuturArc Prize 2022 เปิดให้นิสิตนักศึกษาในนามบุคคลหรือทีม ที่มีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดในระดับสากล - การประกวดเปิดโอกาสให้นักศึกษาระดับปริญญาตรี, สูงกว่าปริญญาตรี, ปริญญาเอกของสถาบันอุดมศึกษาด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์, วิศวกรรมศาสตร์, การวางผัง, การออกแบบเมือง, การออกแบบภูมิทัศน์, การออกแบบสิ่งแวดล้อม ฯลฯ สามารถเข้า ร่วมการแข่งขันได้ หรือผู้สำเร็จการศึกษาล่าสุดที่มีประสบการณ์วิชาชีพน้อยกว่า 2 ปี - ในแบบทีมต้องมีสมาชิกร่วมไม่เกิน 5 ท่าน - ในหนึ่งทีมต้องแต่งตั้งหัวหน้าทีมในการลงทะเบียนการแข่งขันหน้าเว็ปเพจ และเป็นตัวแทนของทีมแต่เพียงผู้เดียวในการติดต่อประสานงานทั้งหมดกับกองประกวดการแข่งขัน - สมาชิกทุกคนในทีมถือเป็นผู้เข้าร่วมการแข่งขันที่พวกเขาส่งร่วมในโครงการหากได้รับรางวัล จะได้รับการกล่าวถึงในงานประกาศมอบรางวัล การจัดแสดงบนนิทรรศการ และสื่อสิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันทั้งหมด ที่ไดให้รายละเอียดบนโปรไฟล์ของทีม - ผู้เข้าประกวดที่ยื่นส่งผลงานบุคคลเดียว ผลงานโครงการที่เขา/เธอส่งเข้ามาหากได้รับรางวัล จะได้รับการกล่าวถึงในงานประกาศมอบรางวัล การจัดแสดงนิทรรศการ และสื่อสิ่งพิมพ์ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการ แข่งขัน - ผู้เข้าแข่งขันรายบุคคลเดียวแต่ละคน เป็นตัวแทนของตนในการติดต่อกับกองประกวดการแข่งขันทั้งหมดKEY DATES (กำหนดการ) - 22 พฤศจิกายน 2021: เริ่มต้นการลงทะเบียนสมัคร และสามารถเริ่มส่งผลงานได้ - 25 กุมภาพันธ์ 2022: การลงทะเบียน และวันสุดท้ายของการรับส่งผลงาน - ภายในสิ้นเดือน เมษายน 2022: ประกาศผล และแจ้งเตือนบุคคลผู ้ที่ชนะรางวัล - พฤษภาคม และ มิถุนายน 2022: เข้าร่วมงานมอบรางวัล* - ช่วงกันยายน ถึง ธันวาคม 2022: การตีพิมพ์ผลงานในนิตยสาร FuturArcศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมคลิ๊ก
13 ธันวาคม 2564     |      392
กิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนกลยุทธ์ ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2564-2568) และแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565
              คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ ได้จัดกิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนกลยุทธ์ ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2564-2568) และแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565  ระหว่างวันที่ 18-19 พฤศจิกายน 2564 ณ ห้องประชุมใหญ่ของคณะ เพื่อเป็นการหาแนวทางในการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ โดยวิเคราะห์สภาพการณ์ขององค์กรในปัจจุบัน อีกทั้งยังเป็นการทบทวนแผนกลยุทธ์ และแผนการดำเนินงาน แผนกลยุทธ์ทางด้านการเงิน ตลอดจนเพื่อให้บุคลากรได้มีส่วนร่วมในการกำหนดแผนการดำเนินงานของคณะ รวมถึงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน และรับทราบแนวทางปฏิบัติงานจากคณะผู้บริหารคณะ
19 พฤศจิกายน 2564     |      507
วาระครบรอบ 15 ปี วันสถาปนาคณะสถาปัตย์ฯ “ฅน ต้น แบบ”
         ด้วยในวันที่ 5 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนา ซึ่งในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2564 นี้ เป็นวาระครบรอบ 15 ปี ที่คณะได้มีการพัฒนาบัณฑิตเพื่อมุ่งสู่วิชาการและวิชาชีพ ทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ในวาระดังกล่าวจึงเป็นโอกาสอันดีที่จะได้มีการจัดกิจกรรมเชิงบูรณาการทางวิชาการกับศิลปวัฒนธรรม เพื่อเปิดโอกาสให้มีการสานความสัมพันธ์ในระดับหลักสูตร บุคลากร นักศึกษา และศิษย์เก่า ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านวิชาการและวิชาชีพเกี่ยวข้อง ตลอดจนการเล่าขานถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาของคณะให้เกิดการรับรู้และร่วมสร้างความภาคภูมิในความเป็นอัตลักษณ์โดยองค์รวม          ซึ่งในปีนี้ได้มีการคัดเลือกศิษย์เก่าของคณะที่มีผลงานโดดเด่น เพื่อสร้างแรงบันดาลใจสู่การเป็น “ฅน + ต้น + แบบ” ครบรอบ 15 ปี 15 บุคคลต้นแบบ เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ต่อสาธารณชน และนับเป็นโอกาสที่จะเชื่อมโยงความสัมพันธ์อันดี ความรัก และความสามัคคี ระหว่างคณาจารย์ บุคลากร ศิษย์ปัจจุบัน ศิษย์เก่า และผู้ประกอบการ องค์กรภายนอก ที่เป็นเครือข่ายทางด้านวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ในการนี้ ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นผู้มอบโล่รางวัลประกาศเกียรติคุณให้กับศิษย์เก่า “ฅน + ต้น + แบบ” โดยมีรายนาม ดังต่อไปนี้   สาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์      1. อาจารย์พิศาล ตันสิน รุ่นที่ 1      2. คุณชุมพล ปรัง รุ่นที่ 4      3. คุณบุญรักษ์ ธนเจริญโรจน์ รุ่นที่ 6      4. คุณประหยัด ชินราช รุ่นที่ 7      5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธราวุฒิ บุญเหลือ รุ่นที่ 10      6. คุณจักรกริช โล่ห์ติวิกุล รุ่นที่ 15   สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม      1. คุณวิทยา กาญจนโกศล รุ่นที่ 1      2. คุณธีร์ นันทวริศ รุ่นที่ 1      3. คุณภูริทัต คุณุรัตน์ รุ่นที่ 3      4. คุณแสงธรรม นิสสภา รุ่นที่ 3      5. คุณจิรเศรษฐ์ ยกดี รุ่นที่ 4      6. คุณพลัง สิทธิถาวร รุ่นที่ 4   สาขาวิชาสถาปัตยกรรม      1. คุณจักรพันธ์ จันทร์ศรี รุ่นที่ 1      2. คุณวิชชานนท์ เกษตร รุ่นที่ 4      3. คุณวุฒิชัย ใจเสมอ รุ่นที่ 7
5 พฤศจิกายน 2564     |      463
ร่วมแสดงความอาลัยต่อการจากไปของ รองศาสตราจารย์ ดร.นพมณี โทปุญญานนท์
                เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม 2564 อาจารย์ ดร.โชคอนันต์ วาณิชย์เลิศธนาสาร คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วย อาจารย์พรทิพย์ จันทร์ราช ผู้ช่วยคณบดี และนายธวัชชัย มานิตย์ ผู้อำนวยการสำนักงานคณบดี เป็นตัวแทนของคณะร่วมวางพวงหรีดเพื่อแสดงความอาลัยต่อการจากไปของ  รองศาสตราจารย์ ดร.นพมณี โทปุญญานนท์ อดีตอาจารย์ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งถึงแก่กรรมด้วยโรคมะเร็ง โดยทางเจ้าภาพได้ตั้งบำเพ็ญกุศล ณ วัดลัฏฐิวัน (วัดพระนอนขอนตาล) อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 
25 ตุลาคม 2564     |      182
ประชาสัมพันธ์ประกวดแนวความคิดการออกแบบในหัวข้อ “The Sustainability of Coated Steel Building Design Contest”
     สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ บริษัท เอ็นเอส บลูสโคป (ประเทศไทย) จำกัด ขอเชิญนักศึกาาส่งผลงานเข้าร่วมการ ประกวดงานออกแบบอาคาร BlueScope Design Award 2021 “The Sustainable of Steel Buildings Design Contest” ชิงเงินสดมูลค่ารวมกว่า 250,000 บาทพร้อมใบประกาศเกียรติคุณกำหนดการ      วันที่ 1 ตุลาคม 2564 ประกาศข้อกำหนดการประกวด เปิดรับสมัคร      วันที่ 15 พฤศจิกายน 2564 ปิดรับสมัคร      วันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 ปิดรับส่งผลงาน      วันที่ 1-9 ธันวาคม 2564 ตัดสินการประกวดแบบ รอบที่ 1      วันที่ 13 ธันวาคม 2564 ประกาศผลการประกวดแบบ รอบที่ 1 จำนวน 5 ราย      วันที่ 13-14 มกราคม 2564 ผู้เข้ารอบ 2 นำเสนอผลงานผ่านระบบ ZOOM      วันที่ 17 มกราคม 2564 ประกาศผลคุณสมบัติผู้เข้าประกวดงานออกแบบ ผู้เข้าประกวดจะต้องเป็นสถาปนิกหรือนักออกแบบ และ เป็นสมาชิกสมาคมสถาปนิกสยามฯ ภายในวันก่อนที่ปิดรับผลงานเงื่อนไขการประกวดงานออกแบบ      - การแข่งขันแบ่งเป็น 2 รอบ โดยรอบที่ 1 จะทำการคัดเลือกผู้เข้าประกวดแบบ 5 ราย (ไม่ระบุจำนวนประชาสัมพันธ์) โดยผู้เข้าประกวดแบบทั้ง 5 รายจะต้องจัดทำ Presentation เพื่อนำเสนอผลงานในรอบที่ 2 ต่อคณะกรรมการตัดสินเป็นภาษาอังกฤษ กำหนดเวลาในการนำเสนอไม่เกิน 10 นาที      - ไม่จำกัดประเภทและขนาดของอาคาร แต่ส่วนประกอบอาคารที่นำ วัสดุและผลิตภัณฑ์ เหล็กเคลือบและเหล็กเคลือบสี่ไปใช้งานต้องมีความโดดเด่นหรือมีความน่าสนใจในการนำไปใช้งานในมิติต่างๆ ( แนวความคิดเรื่องพลังงาน, แนวความคิดงานอนุรักษ์, แนวความคิดงานออกแบบ, แนวความคิดการก่อสร้าง, หรืออื่นๆ)      - ผลงานที่ส่งเข้าประกวดนี้ สามารถเป็น งานออกแบบเชิงการทดลอง (Experimental Design ) หรือ การออกแบบจริงแต่อยู่ในช่วงระหว่างการทำงานหรือกำลังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ) ทั้งนี้การแสดงผลงานการออกแบบอาคาร ต้องแสดงภาพสุดท้ายของงานออกแบบ ที่แสดงผลลัพธ์ /รูปแบบการออกแบบ/วิธีการนำวัสดุและผลิตภัณฑ์เหล็กเคลือบและเหล็กเคลือบสีเกณฑ์การตัดสิน (สัดส่วนการให้คะแนน)      - ความโดดเด่นน่าสนใจของเนื้อหาและแนวความคิดการนำ “วัสดุและผลิตภัณฑ์ เหล็กเคลือบและเหล็กเคลือบสี” ใช้ในงานออกแบบอาคาร (30%)      - รายละเอียดการออกแบบ การทำงานติดตั้ง (30%)      - รูปแบบของการออกแบบสามารถนำไปใช้ได้จริง บริบทของการก่อสร้าง (20%)      - แนวความคิดการออกแบบเพื่อบริบทและสิ่งแวดล้อม (20%) หมายเหตุ : คำตัดสินของคณะกรรมการฯ ถือเป็นที่สิ้นสุด ผู้เข้าร่วมประกวดแบบไม่มีสิทธ์ ร้องเรียนหรือ อุทธรณ์ใดๆ ทั้งสิ้นรางวัลสำหรับผู้เข้าร่วมประกวดแบบ      รางวัลที่ 1 เงินสด 100,000 บาทพร้อมใบประกาศเกียรติคุณ      รางวัลที่ 2 เงินสด 50,000 บาทพร้อมใบประกาศเกียรติคุณ 2 รางวัล      รางวัลชมเชย เงินสด 25,000 บาท บาทพร้อมใบประกาศเกียรติคุณ จำนวน 2 รางวัลศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : BlueScope Design Award 2021 “The Sustainable of Coated Steel Buildings Design Contest” – สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระราชูปถัมภ์ (asa.or.th)
20 ตุลาคม 2564     |      272
ประชาสัมพันธ์รับสมัครเข้าร่วมโครงการประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ ภายใต้โครงการ PTTEP Teenergy ปีที่ 7
     ด้วย บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ได้จัดทำโครงการ PTTEP Teenergy ขึ้น เพื่อปลูกฝังให้กลุ่มเยาวชนมีความตระหนักรู้ถึงความสำคัญและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการมีส่วนร่วมในการสร้างประโยชน์ต่อสังคมมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2557      ในปี 2564 ปตท.สผ. ได้ดำเนินโครงการ PTTEP Teenergy ปีที่ 7 ภายใต้แนวคิด “ทะเลเพื่อชีวิต” (Ocean For Life) เพื่อมุ่งส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล โดยเปิดโอกาสให้กลุ่มเยาวชน นิสิต นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับ ปวส. ถึงระดับปริญญาตรีจากทั่วประเทศ สมัครเข้าร่วมโครงการประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ PTTEP TEENERGY: OCEAN FOR LIFE LOGO CONTEST โดยเปิดรับสมัคร ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม – 15 พฤศจิกายน 2564 ทั้งนี้สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม สมัครเข้าร่วมโครงการและส่งผลงานได้ที่เพจ Facebook : https://www.facebook.com/pttepteenergycamp หรือที่ : https://edu-arch.mju.ac.th/goverment/25601208095037_eduArch/Doc_25641015093516_220506.pdfผู้ประสานงาน :      1. นางสาว พรหมชนก สุขุมาลพันธ์ โทรศัพท์ : 063–473- 7770 E – mail : pttep.ocean.logocontest@gmail.com      2. นายศุภพงษ์ ผ่องจิตร โทรศัพท์ : 081- 821- 4882 E – mail : supphapongp@pttep.com
15 ตุลาคม 2564     |      350
โครงการอบรมสัมมนา “สุขภาวะแวดล้อมเพื่อการออกกำลังกายแฝง สำหรับคนทุกวัย”
              เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2564 ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนทางสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อม (RIS-AE) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับ ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน (Universal Design Center : UDC) ได้จัดโครงการอบรมสัมมนา เรื่อง “สุขภาวะแวดล้อมเพื่อการออกกำลังกายแฝง สำหรับคนทุกวัย” เพื่อเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการดำรงชีวิตภายใต้สภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยหลังวัยเกษียณ เสนอแนะแนวทางการปรับปรุงอาคาร ในการรองรับพฤติกรรมผู้สูงวัย ตลอดจนสร้างพฤติกรรมที่ดีจากการออกกำลังกายแฝง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน ให้กับกลุ่มผู้สูงวัยในพื้นที่ชุมชนต้นแหนหลวง – ต้นแหนน้อย ต.ท่าวังพร้าว อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ และบริเวณใกล้เคียง โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ช่อเพชร พานระลึก จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษหัวข้อ “นวัตกรรมอาคารบ้านเรือน เพื่อรองรับพฤติกรรมผู้สูงวัย”, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัมเรศ เทพมา จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษหัวข้อ “การดำรงชีวิตในชุมชนอนุรักษ์ หลังวัยเกษียณ” และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วุฒิกานต์ ปุระพรหม จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษหัวข้อ “พฤติกรรมการออกกำลังกายแฝง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน” และได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ดร.โชคอนันต์ วาณิชย์เลิศธนาสาร เป็นประธานในพิธีเปิด ณ ข่วงจันทร์เฮอร์ริเทจแอนด์บูติค รีสอร์ท และชุมชนอนุรักษ์สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น บ้านต้นแหนน้อย อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ การจัดงานในครั้งนี้ ได้ดำเนินกิจกรรมตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างเคร่งครัด
15 ตุลาคม 2564     |      252
กิจกรรมการศึกษาดูงาน ณ สวนแม่วางการ์เด้น
             เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564 หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ ได้จัด “โครงการศึกษาดูงานวิชาชีพภูมิทัศน์ด้านกระบวนการผลิตและดูแลรักษาต้นไม้ใหญ่เพื่อพัฒนานักศึกษาและอาจารย์ให้เป็นมืออาชีพ ณ สวนแม่วางการ์เด้น อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่” โดยการนำนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์ เดินทางไปศึกษาดูงานนอกสถานที่เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์นอกห้องเรียนให้แก่นักศึกษา ซึ่งเป็นการบูรณาการกับรายวิชา ภท 444 การดูแลรักษาต้นไม้ใหญ่, ภท 332 การออกแบบภูมิทัศน์ 2, ภท 252 วัสดุพืชพรรณสำหรับงานภูมิทัศน์ 1 และ ภท 253 วัสดุพืชพรรณสำหรับงานภูมิทัศน์ 2 โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์บรรจง สมบูรณ์ชัยเป็น อาจารย์ผู้ควบคุมดูแลกิจกรรมการศึกษาดูงานในครั้งนี้
14 ตุลาคม 2564     |      480
ข้อมูลหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต
หลักสูตเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.) BACHELOR OF LANDSCAPE TECHNOLOGYสาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์ หลักสูตร 4 ปี เทียบเข้าเรียน (2 ปี) (ข้อมูลโครงสร้างหลักสูตร หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 72 หน่วยกิต คุณสมบัติ : เป็นผู้สำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวส.หรือเทียบเท่า ประเภทวิชาอุตสาหกรรม สาขาวิชาเทคนิคสถาปัตยกรรมก่อสร้าง, ประเภท วิชาเกษตรกรรม สาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์ สาขาวิชา พืชศาสตร์ เทคโนโลยีทางพืช (พืชสวนหรือพืชสวนประดับ)ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมGPAX 2.25 ขึ้นไปปรัชญาของหลักสูตรการออกแบบและก่อสร้างงานภูมิทัศน์อย่างยั่งยืน โดยเน้นทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ให้เกิดทักษะ สามารถประกอบอาชีพ เพื่อสนองความต้องการ ในอุตสาหกรรมภูมิทัศน์ของประเทศไทยจุดเด่นของหลักสูตร :เป็นหลักสูตรแห่งแรกและแห่งเดียวของประเทศไทยที่มีการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยี ภูมิทัศน์กว่า 30 ปี โดยได้มีการปรับปรุงหลักสูตร ให้ได้มาตรฐานคุณวุฒิ ระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยี พ.ศ.2560 เป็นหลักสูตรที่มีการพัฒนา และมุ่งสร้าง นักภูมิทัศน์ ที่มีความชำนาญด้านการออกแบบ ก่อสร้างภูมิทัศน์ในอุตสาหกรรมภูมิทัศน์ของไทยเหมาะสำหรับ : “ผู้ที่ชอบสร้างสรรค์ ปฏิบัติงาน ออกแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและ มีวิสัยทัศน์กว้างไกลและทันสมัย สนใจ ศาสตร์ และเทคโนโลยีใหม่ๆ ตลอดจน สร้างสรรค์ผลงานให้เป็นจริง”อาชีพรองรับหลังสำเร็จการศึกษา : งานด้านวิชาการ / งานด้านวิจัย รับเหมาก่อสร้างงานภูมิทัศน์/ ภูมิสถาปัตยกรรม งานด้านการจัดการสนามกอล์ฟ งานด้านการดูแลรักษาภูมิทัศน์ / รุกขกร งานด้านการผลิต และจัดหาวัสดุในการก่อสร้าง ในงานภูมิทัศน์ งานด้านการพัฒนาพื้นที่และสิ่งแวดล้อม งานดูแลรักษาภูมิทัศน์เฉพาะทางทั้งในภาครัฐ และภาคเอกชน ผู้ประกอบการ และประกอบอาชีพอิสระทุนการศึกษา :ทุนสนับสนุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ค่าธรรมเนียมการศึกษาประเภทเหมาจ่าย(ต่อภาคการศึกษา) : 23,000 บาทสนใจสมัครเรียน และศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :admissions.mju.ac.th
5 กันยายน 2566     |      1363
ข้อมูลหลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต
หลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (ภ.สถ.บ.)BACHELOR OF LANDSCAPE ARCHITECTUREPROGRAM IN LANDSCAPE ARCHITECTURE1. สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม หลักสูตร 5 ปีได้รับการรับรองปริญญาในการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมหลักสูตรปริญญาตรี 5 ปี ทางวิชาชีพหรือปฏิบัติการหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 168 หน่วยกิต (ข้อมูลโครงสร้างหลักสูตรแผนการศึกษาภูมิสถาปัตยกรรมเป็นศาสตร์และศิลป์ ในการวางผังและออกแบบสภาพแวดล้อมทางด้านกายภาพ ภายนอกอาคารอย่างสร้างสรรค์ และยั่งยืนจุดเด่นของหลักสูตร  : ผลิตบัณฑิตเป็นภูมิสถาปนิกที่มีความรู้ความสามารถและความชำนาญ ในการวางผังและออกแบบ ภูมิสถาปัตยกรรมอย่างยั่งยืน ตอบบริบทของการเปลี่ยนแปลงที่เป็นพลวัตของศตวรรษที่ 21 สามารถประกอบอาชีพทางด้านภูมิสถาปัตยกรรมได้ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศมีการเรียนการสอนที่เน้นความสำคัญในการพัฒนาสังคม การแก้ไขปัญหาสภาพแวดล้อมทางด้านกายภาพมีการศึกษาดูงานทั้งในและต่างประเทศ (ตามความสมัครใจของนักศึกษา)มีการฝึกปฏิบัติงานจริงในสำนักงานออกแบบ 1 ภาคการศึกษา (สหกิจศึกษา)มีความเชี่ยวชาญด้านการใช้พืชพรรณคุณสมบัติ :เป็นผู้สำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) ทุกแผนการเรียน ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม GPAX 2.50 ขึ้นไปเป็นผู้สำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษาอยู่ในระดับ ปวช. ประเภทวิชาอุตสาหกรรม สาขาวิชาสถาปัตยกรรม งานสถาปัตยกรรม เท่านั้น หรืออยู่ในดุลพินิจ ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม GPAX 2.50 ขึ้นไปเหมาะสำหรับ : ผู้สนใจประกอบวิชาชีพภูมิสถาปนิก ที่ออกแบบด้วยความคิดสร้างสรรค์ เพื่อตอบสนองสังคมและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอาชีพรองรับหลังสำเร็จการศึกษา : ภูมิสถาปนิก / ผู้ช่วยนักวิจัย / งานด้านอุตสาหกรรมภูมิทัศน์ / ประกอบอาชีพอิสระ/ ศึกษาต่อในระดับปริญญาโทค่าธรรมเนียมการศึกษาประเภทเหมาจ่าย(ต่อภาคการศึกษา) : 23,000 บาทสนใจสมัครเรียน และศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :admissions.mju.ac.th2. สาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์ หลักสูตร 4 ปีหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร176 หน่วยกิต (ข้อมูลโครงสร้างหลักสูตรแผนการศึกษาปรัชญาของหลักสูตรการออกแบบและก่อสร้างงานภูมิทัศน์อย่างยั่งยืน โดยเน้นทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ให้เกิดทักษะ สามารถประกอบอาชีพ เพื่อสนองความต้องการ ในอุตสาหกรรมภูมิทัศน์ของประเทศไทยจุดเด่นของหลักสูตร :เป็นหลักสูตรแห่งแรกและแห่งเดียวของประเทศไทยที่มีการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยี ภูมิทัศน์กว่า 30 ปี โดยได้มีการปรับปรุงหลักสูตร ให้ได้มาตรฐานคุณวุฒิ ระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยี พ.ศ.2560 เป็นหลักสูตรที่มีการพัฒนา และมุ่งสร้าง นักภูมิทัศน์ ที่มีความชำนาญด้านการออกแบบ ก่อสร้างภูมิทัศน์ในอุตสาหกรรมภูมิทัศน์ของไทยคุณสมบัติ : เป็นผู้สำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) ทุกแผนการเรียน ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม GPAX 2.25 ขึ้นไปเป็นผู้สำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช. ประเภทวิชาอุตสาหกรรม สาขาวิชาสถาปัตยกรรม สาขาวิชาช่างก่อสร้าง หรืออยู่ในดุลยพินิจของอาจารย์ประจำหลักสูตร) ผลการเรียนผลการเรียนเฉลี่ยสะสมGPAX 2.25 ขึ้นไปเหมาะสำหรับ : “ผู้ที่ชอบสร้างสรรค์ ปฏิบัติงาน ออกแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและ มีวิสัยทัศน์กว้างไกลและทันสมัย สนใจ ศาสตร์ และเทคโนโลยีใหม่ๆ ตลอดจน สร้างสรรค์ผลงานให้เป็นจริง”อาชีพรองรับหลังสำเร็จการศึกษา : งานด้านวิชาการ / งานด้านวิจัย รับเหมาก่อสร้างงานภูมิทัศน์ / ภูมิสถาปัตยกรรม งานด้านการจัดการสนามกอล์ฟ งานด้านการดูแลรักษาภูมิทัศน์ / รุกขกร งานด้านการผลิต และจัดหาวัสดุในการก่อสร้าง ในงานภูมิทัศน์ งานด้านการพัฒนาพื้นที่และสิ่งแวดล้อม งานดูแลรักษาภูมิทัศน์เฉพาะทางทั้งในภาครัฐ และภาคเอกชน ผู้ประกอบการ และประกอบอาชีพอิสระทุนการศึกษา : ทุนคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ, ทุนมหาวิทยาลัย, ทุนศิษย์เก่าและสถานประกอบการ, ทุนกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)ค่าธรรมเนียมการศึกษาประเภทเหมาจ่าย(ต่อภาคการศึกษา) : 23,000 บาทสนใจสมัครเรียน และศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :admissions.mju.ac.th3. สาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์ หลักสูตร 4 ปี หลักสูตรเทียบเข้าเรียนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 72 หน่วยกิตข้อมูลโครงสร้างหลักสูตรแผนการศึกษาคุณสมบัติ : เป็นผู้สำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวส.หรือเทียบเท่า ประเภทวิชาอุตสาหกรรม สาขาวิชาเทคนิคสถาปัตยกรรมก่อสร้าง, ประเภทวิชาเกษตรกรรม สาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์) ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมGPAX 2.25 ขึ้นไปปรัชญาของหลักสูตรการออกแบบและก่อสร้างงานภูมิทัศน์อย่างยั่งยืน โดยเน้นทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ให้เกิดทักษะ สามารถประกอบอาชีพ เพื่อสนองความต้องการ ในอุตสาหกรรมภูมิทัศน์ของประเทศไทยจุดเด่นของหลักสูตร :เป็นหลักสูตรแห่งแรกและแห่งเดียวของประเทศไทยที่มีการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยี ภูมิทัศน์กว่า 30 ปี โดยได้มีการปรับปรุงหลักสูตร ให้ได้มาตรฐานคุณวุฒิ ระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยี พ.ศ.2560 เป็นหลักสูตรที่มีการพัฒนา และมุ่งสร้าง นักภูมิทัศน์ ที่มีความชำนาญด้านการออกแบบ ก่อสร้างภูมิทัศน์ในอุตสาหกรรมภูมิทัศน์ของไทยเหมาะสำหรับ : “ผู้ที่ชอบสร้างสรรค์ ปฏิบัติงาน ออกแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและ มีวิสัยทัศน์กว้างไกลและทันสมัย สนใจ ศาสตร์ และเทคโนโลยีใหม่ๆ ตลอดจน สร้างสรรค์ผลงานให้เป็นจริง”อาชีพรองรับหลังสำเร็จการศึกษา : งานด้านวิชาการ / งานด้านวิจัย รับเหมาก่อสร้างงานภูมิทัศน์/ ภูมิสถาปัตยกรรม งานด้านการจัดการสนามกอล์ฟ งานด้านการดูแลรักษาภูมิทัศน์ / รุกขกร งานด้านการผลิต และจัดหาวัสดุในการก่อสร้าง ในงานภูมิทัศน์ งานด้านการพัฒนาพื้นที่และสิ่งแวดล้อม งานดูแลรักษาภูมิทัศน์เฉพาะทางทั้งในภาครัฐ และภาคเอกชน ผู้ประกอบการ และประกอบอาชีพอิสระค่าธรรมเนียมการศึกษาประเภทเหมาจ่าย(ต่อภาคการศึกษา) : 23,000 บาทสนใจสมัครเรียน และศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :admissions.mju.ac.th
25 ตุลาคม 2566     |      4802
ข้อมูลหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต
หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สถ.บ.) BACHELOR OF ARCHITECTURE PROGRAM IN ARCHITECTUREสาขาวิชาสถาปัตยกรรม หลักสูตร 5 ปี ได้รับการรับรองปริญญาในการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 170 หน่วยกิต (ข้อมูลโครงสร้างหลักสูตรแผนการศึกษาปรัชญาของหลักสูตรผลิตบัณฑิตในวิชาชีพสถาปัตยกรรมที่มีความรู้ความสามารถในวิชาการและวิชาชีพสามารถวิเคราะห์ เข้าใจ ตระหนักรู้ในสถานการณ์ของโลก รวมทั้งสามารถประยุกต์ใช้บูรณาการศาสตร์ทางด้านสถาปัตยกรรมและที่เกี่ยวข้องเพื่อการออกแบบที่สอดคล้องกับภูมิสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนวัตถุประสงค์ของหลักสูตร  :   เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการออกแบบสถาปัตยกรรมภายใต้แนวความคิดภูมิสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการประยุกต์ใช้แนวความคิดระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) ในการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการออกแบบสถาปัตยกรรมและสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความเข้าใจในด้านการก่อสร้าง วัสดุการก่อสร้าง การควบคุมงานก่อสร้าง เพื่อให้มีทักษะและความสามารถในการทำงานร่วมกับบุคลากรทางวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมและบุคลากรวิชาชีพที่เกี่ยวข้องเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความเข้าใจด้านการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมและสามารถประยุกต์การประกอบวิชาชีพสู่การเป็นผู้ประกอบการวิชาชีพด้านสถาปัตยกรรมและด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (Entrepreneurshipคุณสมบัติ :กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.6) แผนการเรียนวิทย์-คณิต ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม GPAX 2.50 ขึ้นไปกำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.ทางแผนกประเภทวิชาอุตสาหกรรม สาขาวิชาสถาปัตยกรรม สาขาวิชาช่างก่อสร้าง) ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม GPAX 2.50 ขึ้นไปอาชีพรองรับหลังสำเร็จการศึกษา : สถาปนิก / นักออกแบบ / นักสร้างสรรค์ / อาชีพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ การก่อสร้างและงานสร้างสรรค์ต่าง ๆ / งานการออกแบบของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน / ประกอบอาชีพอิสระเหมาะสำหรับ :ผู้สนใจในงานออกแบบสถาปัตยกรรมภายใต้แนวความคิดภูมิสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนโดยใช้แนวความคิดระเบียบวิธีวิจัยในการสร้างสรรค์ เพื่อประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการสนับสนุนการออกแบบสถาปัตยกรรมทุน :ทุนสนับสนุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์, กองทุนกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา (กยศ.)ค่าธรรมเนียมการศึกษาประเภทเหมาจ่าย(ต่อภาคการศึกษา) : 23,000 บาทสนใจสมัครเรียน และศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :admissions.mju.ac.th
6 กันยายน 2566     |      10039
ทั้งหมด 16 หน้า