งานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
พิธีมอบรางวัลผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ และผลงานวิชาการ ประจำปีงบประมาณ 2565
        วันที่ 26 สิงหาคม 2565 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม จัดพิธีมอบรางวัลผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ และผลงานวิชาการ ประจำปีงบประมาณ 2565 ให้กับบุคลากรของคณะที่สร้างผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ และสร้างผลงานวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่ที่อยู่ในฐานข้อมูลที่ยอมรับในระดับชาติและระดับนานาชาติเป็นที่ประจักษ์ ณ ห้องประชุม 202 อาคารคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนบุคลากรในการผลิตผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ นำไปใช้ประโยชน์ต่อหน่วยงานหรือชุมชนภายนอก ตลอดจนสร้างขวัญกำลังใจ และสร้างแรงบันดาลใจให้แก่บุคลากรมุ่งมั่นที่จะผลิตผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่มีคุณภาพต่อไป ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ดร.โชคอนันต์ วาณิชย์เลิศธนาสาร คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลให้กับบุคลากรของคณะ ดังรายนามต่อไปนี้รองศาสตราจารย์ ดร.ณัชวิชญ์ ติกุล สร้างผลงานวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่ในฐานข้อมูล SCOPUS และ TCI กลุ่ม 1 มากที่สุดผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิกร มหาวัน สร้างผลงานวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่ในฐานข้อมูล SCOPUSผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ลักษณา สัมมานิธิ สร้างผลงานวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่ในฐานข้อมูล TCI กลุ่ม 1ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.แทนวุธธา ไทยสันทัด สร้างผลงานวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่ในฐานข้อมูล TCI กลุ่ม 1ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดิศสกุล อึ้งตระกูล สร้างผลงานวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่ในฐานข้อมูล TCI กลุ่ม 1รองศาสตราจารย์รมย์ชลีรดา ด่านวันดี สร้างผลงานวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่ในฐานข้อมูล TCI กลุ่ม 2ผู้ช่วยศาสตราจารย์จรัสพิมพ์ บุญญานันต์ สร้างผลงานวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่ในฐานข้อมูล TCI กลุ่ม 2อาจารย์ ดร.ปริญญา ปฏิพันธกานต์ สร้างผลงานวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่ในฐานข้อมูล TCI กลุ่ม 2อาจารย์ณัฐพล เรืองวิทยานุสรณ์ ได้รับรางวัลบทความวิจัย ระดับดีเด่น ในการประชุมวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ระดับชาติ ครั้งที่ 4
26 สิงหาคม 2565     |      547
กิจกรรมเสวนาวิชาการ : การเสริมสร้างศักยภาพการเรียนรู้และทัศนคติด้านวิชาชีพของนักผังเมือง
        เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2565 อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวางผังเมืองและสภาพแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม ได้จัด “โครงการเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้นักศึกษาหลักสูตรการวางผังเมืองและสภาพแวดล้อม : กิจกรรมที่ 1 การเสริมสร้างศักยภาพการเรียนรู้และทัศนคติด้านวิชาชีพของบัณฑิตศึกษา” ให้กับนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการวางผังเมืองและสภาพแวดล้อม ณ ห้องประชุม 202 ชั้น 2 อาคารเรียนคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการเรียนรู้และทัศนคติด้านวิชาชีพของนักผังเมืองให้กับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ซึ่งกิจกรรมจัดในรูปแบบการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักศึกษา คณาจารย์ และวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านวิชาชีพผังเมือง โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิทยา ดวงธิมา เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ        ในการนี้ได้รับเกียรติจาก คุณจันทิรา เกื้อด้วง นักผังเมืองชำนาญการพิเศษ จากสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดเชียงใหม่, คุณปิยวรรณ ชูนวล นักผังเมืองชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการผังเมือง จากสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดสงขลา และคุณเสกสรร วรรณแก้ว นักผังเมืองปฏิบัติการ จากสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดพิจิตร ร่วมเป็นวิทยากรเสวนาในหัวข้อ “การเสริมสร้างศักยภาพการเรียนรู้และทัศนคติด้านวิชาชีพของนักผังเมือง” ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ดร.โชคอนันต์ วาณิชย์เลิศธนาสาร คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมดังกล่าว
25 สิงหาคม 2565     |      633
พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการด้านการส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม ร่วมกับ บริษัท ตลาดแม่โจ้สามัคคี จำกัด
        เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2565 คณะผู้บริหารคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ นำโดย อ.ดร.โชคอนันต์ วาณิชย์เลิศธนาสาร คณบดี พร้อมด้วย อาจารย์ ดร.ทำเนียบ อุฬารกุล รองคณบดีฝ่ายวิชาการและบริการวิชาการ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์พันธ์ศักดิ์ ภักดี รองคณบดีฝ่ายพันธกิจพิเศษและเครือข่าย และ รองศาสตราจารย์ศิริชัย หงษ์วิทยากร พร้อมทั้งผู้แทนจาก บริษัท ตลาดแม่โจ้สามัคคี จำกัด นำโดย คุณสิทธิโชค พนายางกูร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตลาดแม่โจ้สามัคคี จำกัด พร้อมด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนสถานประกอบการที่มาร่วมเป็นสักขีพยาน ได้ร่วมกันลงนามความร่วมมือทางวิชาการใน "พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการด้านการส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม ระหว่าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับ บริษัท ตลาดแม่โจ้สามัคคี จำกัด" ณ ห้องประชุม 202 อาคารเรียนคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้         โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้วยการบูรณาการความร่วมมือทางด้านวิชาการ บริการวิชาการ งานวิจัย และความร่วมมืออื่นๆ ระหว่างหน่วยงานให้มีความเจริญก้าวหน้า ตลอดจนเสริมสร้างการพัฒนาทักษะการทำงานอย่างมืออาชีพให้กับนักศึกษา เพื่อให้เกิดทักษะการปฏิบัติงานและเป็นผู้ประกอบการอย่างมืออาชีพต่อไปในอนาคต
5 สิงหาคม 2565     |      455
การตัดสินผลงานการออกแบบของนักศึกษา รอบคัดเลือก โครงการบริการวิชาการเพื่อพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบค่ายวิชาการ “Architron”
        คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้กำหนดจัดโครงการบริการวิชาการเพื่อพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบค่ายวิชาการ “Architron” ในระหว่างวันที่ 5 – 8 สิงหาคม 2565 ณ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและสร้างโอกาสในการเป็นผู้ประกอบการ ให้แก่นักศึกษา ตลอดจนนำการบริการวิชาการมาบูรณาการกับการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรของคณะฯ โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์การทำโครงการจริง และได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับภาคอุตสาหกรรม ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาด้านการออกแบบ และกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้าง ที่เป็นบริษัทชั้นนำของโลก และ/หรือมีผลงานในระดับนานาชาติ ตลอดจนสมาชิกหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านนวัตกรรมการก่อสร้างและการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์อย่างยั่งยืน ระหว่างภาคอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการภายนอกกับ คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติงานจริงร่วมกับผู้ประกอบการ ผ่านกิจกรรมค่ายวิชาการ        เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2565 เวลา 13.30 น. จึงได้มีการตัดสินคัดเลือกทีมนักศึกษาที่จะเข้ารอบการเก็บตัวเข้าค่ายวิชาการดังกล่าว เพื่อพัฒนาศักยภาพในงานออกแบบโครงการและยกระดับการเรียนรู้เชิงรุกทางสถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม และภูมิทัศน์ โดยในรอบคัดเลือกผลงานนี้ ได้รับเกรียติจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก และผู้ประกอบการจริงในมิติของนักลงทุน จากทีมผู้บริหารตลาดแม่โจ้สามัคคี รวมถึงสถาปนิกอาชีพ ในการคัดประเมินผลงานนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้
4 สิงหาคม 2565     |      508
กิจกรรมการศึกษาดูงาน ในหัวข้อ “การบริหารจัดการองค์กรและการสื่อสารเพื่อประสิทธิภาพในการให้บริการอย่างมืออาชีพ” และลงนามความร่วมมือการศึกษาวิจัยและบริการวิชาการ "แนวทางพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืนเพื่อการบูรณาการกิจกรรมทางธุรกิจ กรณีศึกษา พื้นที่ร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ต.แม่แรม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ณ บริษัท ชอยส์ มินิสโตร์ จำกัด
        เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2565 เวลา 13.00 น. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดโครงการศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการให้สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อการบริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพในการให้บริการอย่างมืออาชีพ และบรรลุตามพันธกิจของคณะ โดยมีตัวแทนผู้บริหารและบุคลากรสายสนับสนุน สำนักงานคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ จำนวน 18 คน เข้าศึกษาดูงาน ในหัวข้อ “การบริหารจัดการองค์กรและการสื่อสารเพื่อประสิทธิภาพในการให้บริการอย่างมืออาชีพ” ณ บริษัท ชอยส์ มินิสโตร์ จำกัด เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพ มาพัฒนาสายงานสนับสนุนวิชาการของคณะ         และในวันเดียวกันนี้ ได้มีการลงนามความร่วมมือในการศึกษาวิจัยและบริการวิชาการ โครงการวิจัย เรื่อง "แนวทางพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืนเพื่อการบูรณาการกิจกรรมทางธุรกิจ กรณีศึกษา พื้นที่ร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ต.แม่แรม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ นำโดยตัวแทนจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ ได้แก่ อ.ดร.โชคอนันต์ วาณิชย์เลิศธนาสาร คณบดี และ ผศ.พันธ์ศักดิ์ ภักดี รองคณบดีฝ่ายพันธกิจพิเศษและเครือข่าย ร่วมกับ ตัวแทนจาก บริษัท ชอยส์ มินิสโตร์ จำกัด ได้แก่ คุณวธัญญู ตันตรานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานสนับสนุน พร้อมด้วย คุณบวรเวทย์ ตันตรานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานปฏิบัติการ, คุณปราณี กีฬาแปง ฝ่ายอาวุโสทรัพยากรบุุคล และคุณอภินันท์ จันทร์แดง ผู้จัดการฝ่ายบริหารงานก่อสร้างและซ่อมบำรุง เพื่อร่วมกันพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้วยการบูรณาการความร่วมมือทางด้านวิชาการ บริการวิชาการ งานวิจัย และความร่วมมืออื่นๆ ระหว่างหน่วยงานให้มีความเจริญก้าวหน้า ตลอดจนเสริมสร้างการพัฒนาทักษะการทำงานอย่างมืออาชีพให้กับนักศึกษา เพื่อให้เกิดทักษะการปฏิบัติงานและเป็นผู้ประกอบการอย่างมืออาชีพต่อไปในอนาคต
29 กรกฎาคม 2565     |      531
กิจกรรมการเสวนาเตรียมความพร้อมและติดตามความก้าวหน้าบัณฑิตศึกษาสาขาวิชาการวางผังเมืองและสภาพแวดล้อม
        เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2565 หลักสูตรการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวางผังเมืองและสภาพแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม ได้จัด “โครงการเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้นักศึกษาหลักสูตรการวางผังเมืองและสภาพแวดล้อม : กิจกรรมที่ 2 การเสวนาเตรียมความพร้อมและติดตามความก้าวหน้าบัณฑิตศึกษา” ให้กับนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการวางผังเมืองและสภาพแวดล้อม ณ ห้องประชุม 202 ชั้น 2 อาคารเรียน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อเป็นการติดตามความก้าวหน้าในการจัดทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาและเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักศึกษา คณาจารย์ และวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านวิชาชีพผังเมือง โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิกร มหาวัน เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ         ในการนี้ได้รับเกียรติจาก อาจารย์คณิต ธนูธรรมเจริญ อาจารย์พิเศษจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และอาจารย์ ดร.โชคอนันต์ วาณิชย์เลิศธนาสาร คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ เป็นวิทยากรพิเศษร่วมเสวนาในหัวข้อ "การพัฒนาตามศาสตร์พระราชา กับงานด้านการผังเมือง"
29 กรกฎาคม 2565     |      270
โครงการฝึกอบรม เรื่อง มาตรฐานการออกแบบห้องน้ำเพื่อทุกคน (Universal Design)
      เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2565 เวลา 13.00-16.30 น. บริษัท โตโต้ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับ ศูนย์การออกแบบเพื่อคนทุกคน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (UDC MJU) และ ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนทางสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (RISAE)  ได้จัดโครงการฝึกอบรม เรื่อง มาตรฐานการออกแบบห้องน้ำเพื่อทุกคน โดยได้รับเกียรติจาก อ.ดร.โชคอนันต์ วาณิชย์เลิศธนาสาร คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม เป็นประธานในพิธีเปิด ซึ่งมีการบรรยายพิเศษในหัวข้อ "TOTO Universal Design Standard" และหัวข้อ "เทคโนโลยีและนวัตกรรมสุขภัณฑ์ สำหรับทุกคน"โดยวิทยากรจาก บริษัท โตโต้ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจแก่นักศึกษาและบุคลากร ในด้านการออกแบบสถาปัตยกรรม ตามหลักแนวคิดของการออกแบบอารยสถาปัตย์ (Universal Design) พร้อมทั้งจัดกิจกรรม Workshop เพื่อให้นักศึกษาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และปฏิบัติออกแบบสถาปัตยกรรมห้องน้ำสำหรับทุกคน
21 กรกฎาคม 2565     |      576
กิจกรรมบรรยายพิเศษเพื่อสนับสนุนการเสนอบทความทางวิชาการในหัวข้อ “ก้าวย่างสู่ความเป็นนักวิชาการ : ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับบทความทางวิชาการ และวารสาร First Steps into Academia: Introduction to Academic Article and Journal”
      เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2565 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม จัดกิจกรรมบรรยายพิเศษเพื่อสนับสนุนการเสนอบทความทางวิชาการในหัวข้อ “ก้าวย่างสู่ความเป็นนักวิชาการ : ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับบทความทางวิชาการ และวารสาร First Steps into Academia: Introduction to Academic Article and Journal” เพื่อสนับสนุนบุคลากรในการผลิตผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ ตลอดจนการต่อยอดบทความสู่งานวิชาการด้านต่าง ๆ ให้กับคณาจารย์ บุคลากรของคณะฯ และผู้สนใจทั่วไป โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัทมน เสลานนท์ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต, หัวหน้ากองบรรณาธิการบริหารวารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรม/การผังเมือง (Journal of ArchitecturalPlanning Research and Studies JARSและหัวหน้ากองบรรณาธิการบริหารวารสารวิชาการภูมิสถาปัตยกรรม (Landscape Architecture JournalLAJเป็นวิทยากรบรรยายผ่านระบบประชุมออนไลน์ MS-Teams
21 กรกฎาคม 2565     |      580
การประชุมบุคลากรคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565
      เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2565 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ ได้จัดกิจกรรมการประชุมบุคลากรคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 เพื่อให้ผู้บริหารได้นำเสนอนโยบาย แผนและยุทธศาสตร์การพัฒนาคณะให้บุคลากรของคณะได้มีส่วนรับรู้และสร้างความเข้าใจร่วมกัน รวมถึงการมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนเพื่อผลิตบัณฑิตทางด้านการออกแบบสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการดำเนินการด้านการบริการจัดการ ด้านการจัดการเรียนการสอน และการรับทราบแนวทางการดำเนินงานในปี 2565 ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
27 มิถุนายน 2565     |      337
วิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย ส่งมอบและติดตั้งเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศ PM 2.5 (adiDUST) ให้กับคณะสถาปัตย์ฯ ม.แม่โจ้
      เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2565 อาจารย์ ดร.ชยานนท์ สวัสดีนฤนาท อาจารย์ประจำวิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พร้อมด้วย นายโชคชัย คงอุดมทรัพย์ นักวิชาการศึกษา และนายอานนท์ ผัดแปง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป เข้าดำเนินการติดตั้งและถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบตรวจวัดคุณภาพอากาศ PM 2.5 (adiDUST) ให้กับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ทั้งนี้มี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พันธุ์ระวี กองบุญเทียม ผู้ช่วยคณบดีคณะสถาปัตย์ฯ แม่โจ้ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วุฒิกานต์ ปุระพรหม หัวหน้าศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนทางสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้ให้การต้อนรับและนำคณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เข้าเยี่ยมชมศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนทางสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อม Research and Innovation Center for Sustainability of Architecture and Environment (RIS-AE) พร้อมทั้งร่วมหารือแนวทางการบูรณาการข้อมูลคุณภาพอากาศจาก adiDUST เพื่อต่อยอดโครงการวิจัยและโครงการบริการวิชาการร่วมกัน
24 มิถุนายน 2565     |      489
คณะนักวิจัยและผู้บริหารคณะสถาปัตย์ฯ แม่โจ้ เข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เพื่อหารือแนวทางการดำเนินงานและนำเสนอโครงการวิจัย เรื่อง “การจัดการทุนทางวัฒนธรรมพื้นที่เมืองแพร่ เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขันของผู้ประกอบการวิสาหกิจทางวัฒนธรรม”
              เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2565 อาจารย์ ดร.โชคอนันต์ วาณิชย์เลิศธนาสาร พร้อมด้วย อาจารย์ จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งเป็นคณะนักวิจัยจาก โครงการวิจัย เรื่อง “การจัดการทุนทางวัฒนธรรมพื้นที่เมืองแพร่ เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขันของผู้ประกอบการวิสาหกิจทางวัฒนธรรม” เข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เพื่อหารือแนวทางการดำเนินงานและนำเสนอโครงการวิจัย และรายงานความก้าวหน้าของโครงการ ต่อผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ และตัวแทนจากสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ พร้อมทั้งเป็นการพบปะเครือข่ายในพื้นที่ ตลอดจนร่วมลงพื้นที่ตรวจเช็คความแม่นยำของเนื้องานในแต่ละวัตถุประสงค์โดยเฉพาะการวางยุทธศาสตร์พื้นที่ในระดับจังหวัด ระดับเทศบาล ระดับพื้นที่ ละแวกบ้าน และระดับครัวเรือน เหล่านี้จะนำไปสู่การผสานสร้างกิจกรรมงานหัตถศิลป์ มูลค่าสูง ทั้งคุณค่าและราคา โดยผ่านกระบวนการทางสังคมศาสตร์?เศรษฐศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตร์ และสถาปัตยกรรมศาสตร์ บนการจัดทำข้อมูลยืนยันตรวจย้อนทางแผนที่วัฒนธรรมในอดีต ปัจจุบันและวางหมุดหมายอนาคตเพื่อให้เกิดการยอมรับในระดับสากล ตลอดจนการพัฒนาทุนวัฒนธรรมไปสู่ระยะที่ 2ที่จะต้องปฏิบัติและถ่ายทอด การยกระดับงานหัตถศิลป์ภายใต้ทรัพยากรทุนวัฒนธรรมที่มีอยู่สู่ความยั่งยืนและแม่นยำของพื้นที่ศึกษา              โครงการวิจัย เรื่อง “การจัดการทุนทางวัฒนธรรมพื้นที่เมืองแพร่ เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขันของผู้ประกอบการวิสาหกิจทางวัฒนธรรม” เป็นโครงการที่ได้รับทุนอุดหนุนโครงการวิจัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 จากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)
13 กุมภาพันธ์ 2565     |      137
พิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ MOA กิจกรรมการพัฒนาด้านวิชาการ การวิจัยและบริการวิชาการ ระหว่าง คณะสถาปัตย์ฯ ม.แม่โจ้ กับ วิทยาลัยชุมชนแพร่
             เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2564 รองศาสตราจารย์ ดร.ณัชวิชญ์ ติกุล รองคณบดีฝ่ายวิจัย พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์พันธ์ศักดิ์ ภักดี รองคณบดีฝ่ายพันธกิจพิเศษและเครือข่าย และอาจารย์ณัฐพล เรืองวิทยานุสรณ์ เป็นตัวแทนของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับ วิทยาลัยชุมชนแพร่ จัดพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ MOA กิจกรรมการพัฒนาด้านวิชาการ การวิจัยและบริการวิชาการ ณ วิทยาลัยชุมชนแพร่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมมือกันดำเนินงานด้านวิชาการ การวิจัย และงานบริการวิชาการ ตลอดจนความร่วมมืออื่นๆ ระหว่างหน่วยงานให้เจริญก้าวหน้าต่อไป โดยมีกำหนดระยะเวลา 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ทั้งสองฝ่ายได้ ลงนามเป็นต้นไป
22 ธันวาคม 2564     |      191
ทั้งหมด 2 หน้า